บทความดีๆ สำหรับน้องๆ ที่สนใจด้านการ โรงแรม และการท่องเที่ยว | ||||||||||||||
"อนาคตการเรียนด้านการโรงแรม การท่องเที่ยว ยังน่าเรียนหรือไม่ ???" | ||||||||||||||
อาจจะซีเรียสนิดนึงนะครับ แต่ก็อยากให้น้องๆ ที่สนใจทางด้านนี้ หรือลังเลอยู่ ว่าจะเรียนทางด้านนี้ดีรึเปล่าได้อ่านกันครับ | ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
แหล่งที่มีความหลากหลายในการชอปปิง การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่านี้ก็เป็นโอกาสที่ ในยามวิกฤตที่หากจะประหยัดเงินในการ ท่องเที่ยวแล้ว อันทรงเกียรติและน่าภาคภูมิใจของ ชาวไทย เปรียบเสมือนเสียงสะท้อนจากทั่วโลก ว่าประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนใหญ่จากทั่วทุก มุมโลกยังคงให้ความสนใจ และมีความ ประสงค์ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ททท. ได้รุก ทำการตลาดออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ จากทั่วโลก (e-Marketing Thailand Campaign) โดยเน้นไปที่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ ประเทศไทยในด้าน ต่างๆ ให้
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
ที่มาของข้อมูล : | ||||||||||||||
- ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2552 และ วัน พฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 | ||||||||||||||
- http://thai.tourismthailand.org/ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) | ||||||||||||||
- www.thaigov.go.th (รัฐบาลไทย) |
Tourism and Hotels.
เรียนการท่องเที่ยวและโรงแรม เป็นสายหนึ่งที่น่าสนใจ สามารถทำงานได้หลายด้าน ไกด์ทัวร์ พนักงานโรงแรม พนักงานต้อนรับ แฮร์โฮสเตส เชฟ เป็นต้น ครอบคลุมส่นการท่องเที่ยวและโรงแรมทั้งหมด เช่น ภัตราคาร สปา รีสอร์ท ท่องเที่ยว โรงแรม เป็นงานที่ไปพบปะผู้คนตลอด ทั้งต่างชาติ ต่างภาษา และต่างทางด้านวัฒนธรรม ถือเป็นการเข้าสังคม และได้ประสบการณ์ชีวิตมากมาย
ค้นหาบล็อกนี้
วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553
" อนาคตการเรียนด้านการโรงแรม การท่องเที่ยว ยังน่าเรียนหรือไม่ ??? "
วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553
สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย
การท่องเที่ยวและการโรงแรม
ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นสองประเทศหลักที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ประสานความร่วมมือกันในปี 2545 โดยริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนระดับมหาวิทยาลัย และโครงการฝึกอบรมในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ดังจะเห็นได้จากการเปิดสาขาของสถาบันการท่องเที่ยวและการโรงแรม Vatel ขึ้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
โครงการแลกเปลี่ยนระดับมหาวิทยาลัยและการวิจัยในประเทศไทย มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันราชภัฏเปิดสอนหลักสูตรบริหารการโรงแรมและการท่องเที่ยว (ระดับปริญญาตรีและโท) ในประเทศฝรั่งเศส วิทยาลัยการโรงแรมและโรงเรียนเอกชนเป็นสถาบันที่ผลิตนักเทคนิคและผู้บริหารสำหรับอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว ส่วนมหาวิทยาลัยฝรั่งเศสนั้นเน้นหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ บริหาร และวางแผนอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว รวมทั้งการศึกษาเรื่องการท่องเที่ยวในลักษณะใหม่ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือ
1 – โครงการความร่วมมือตามแผนอุดมศึกษาและวิจัยไทย-ฝรั่งเศสว่าด้วย "การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสในกรอบข้อตกลงความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส ปี 2545"
ผู้ร่วมโครงการฝ่ายฝรั่งเศส – มหาวิทยาลัยแปร์ปิญอง (คณะการกีฬา การท่องเที่ยวและการโรงแรมนานาชาติ) มหาวิทยาลัยลาโรแชลล์ (คณะอักษรศาสตร์และมนุษยศาสตร์)
ผู้ร่วมโครงการฝ่ายไทย – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คณะการท่องเที่ยว) และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ร่วมโครงการฝ่ายไทย – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คณะการท่องเที่ยว) และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพและมีคุณสมบัติระดับสูงพอที่จะสามารถรับผิดชอบการพัฒนาแบบยั่งยืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้
กิจกรรมหลักภายใต้โครงการมีดังนี้
- งานวิจัย การดำเนินโครงการด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การจัดการศึกษาในระดับปริญญาเอก
- การฝึกอบรมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ
- การให้ความสำคัญวุฒิการศึกษาและวุฒิบัตร (การเทียบวุฒิการศึกษา การจัดการอบรมสัมมนา การประชุม การแลกเปลี่ยนอาจารย์)
- การจัดการอบรมระยะสั้นในประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย
- การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการจัดการอบรมแลกเปลี่ยนในบริษัทต่างๆในทั้งสองประเทศ
กิจกรรมหลักภายใต้โครงการมีดังนี้
- งานวิจัย การดำเนินโครงการด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การจัดการศึกษาในระดับปริญญาเอก
- การฝึกอบรมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ
- การให้ความสำคัญวุฒิการศึกษาและวุฒิบัตร (การเทียบวุฒิการศึกษา การจัดการอบรมสัมมนา การประชุม การแลกเปลี่ยนอาจารย์)
- การจัดการอบรมระยะสั้นในประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย
- การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการจัดการอบรมแลกเปลี่ยนในบริษัทต่างๆในทั้งสองประเทศ
2 – ความร่วมมือระหว่างสถาบันราชภัฏสวนดุสิต (กรุงเทพฯ) วิทยาลัยการโรงแรมเมืองลาโรแชลล์ และวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวเมืองแซ็งก็องแต็งอ็องเอเวอลีน (ปี 2545)
ได้มีการจัดการประชุมสัมมนาซึ่งประสบความสำเร็จขึ้นสองครั้งที่กรุงเทพฯ
- การประชุมสัมมนาว่าด้วยการครัวฝรั่งเศส จัดเพื่อคณาจารย์ไทยจากสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ โดยมีอาจารย์จากวิทยาลัยการโรงแรมเมืองลาโรแชลล์เป็นวิทยากร
- การประชุมสัมมนาว่าด้วยการท่องเที่ยว จัดเพื่ออาจารย์ไทย 27 คน โดยมีอาจารย์จากวิทยาลัยการโรงแรมเมืองแซ็งต์ก็องแต็งอ็องเอเวอลีนเป็นวิทยากร
- การประชุมสัมมนาว่าด้วยการครัวฝรั่งเศส จัดเพื่อคณาจารย์ไทยจากสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ โดยมีอาจารย์จากวิทยาลัยการโรงแรมเมืองลาโรแชลล์เป็นวิทยากร
- การประชุมสัมมนาว่าด้วยการท่องเที่ยว จัดเพื่ออาจารย์ไทย 27 คน โดยมีอาจารย์จากวิทยาลัยการโรงแรมเมืองแซ็งต์ก็องแต็งอ็องเอเวอลีนเป็นวิทยากร
3 – การประยุกต์ใช้แนวคิด Ecosite ในเขตบางขุนเทียน (ชานเมืองกรุงเทพฯ)
โครงการนี้ริเริ่มขึ้นโดยบริษัท Ecosite ร่วมกับสถาบันวิจัย Cirad มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรุงเทพมหานคร เน้นเรื่องการควบคุมกิจกรรมทางอุตสาหกรรม อันหมายรวมถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเพื่อการเรียนรู้ โดยยึดหลักการเคารพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตมนุษย์เป็นสำคัญ
4 – โครงการและข้อตกลงระหว่างสถาบันไทยกับสถาบันฝรั่งเศส
• การจัดตั้งสาขาสถาบันวาแตลที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
สถาบันวาแตลและมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการจัดทำหลักสูตร "ปริญญาตรีสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว" รับรองโดยสถาบันวาแตล การเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ได้เริ่มขึ้นแล้วที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี ในเดือนมิถุนายน 2546
• การจัดทำหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ สาขาบริหารการโรงแรมและการท่องเที่ยว
ในเดือนตุลาคม 2546 มหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาบันวาแตลได้ร่วมลงนามในข้อตกลงอีกฉบับหนึ่งว่าด้วยการจัดทำหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ สาขาบริหารการโรงแรมและการท่องเที่ยว
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553
ในบทความนี้ก็จะมาแนะนำน ถึงรายละเอียดคร่าวๆ ของวิชาทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ว่ามีสายใดบ้าง จบแล้วจะได้ทำงานอะไรได้บ้าง และมีโอกาสก้าวหน้าทางหน้าที่การงานอย่างไรบ้าง ซึ่งจะขออนุญาต ใช้หลักสูตรของสถาบัน I-TIM เป็นหลัก เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ใกล้เคียงกับการเรียนด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวในต่างประเทศครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาเริ่มกันเลยค่ะ
แผนกแรกซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากก็คือ
แผนกครัว (Kitchen Operations)
ในแผนกครัวของสถาบัน I-TIM น้องๆ จะได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ เกี่ยวกับการทำอาหารยุโรปในทุกๆ ส่วนอย่างสนุกสนาน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับสูง ทั้งในส่วนของครัวร้อน ครัวเย็น และเบเกอรี่ โดยน้องๆ จะได้ลงมือทำจริงในทุกๆ ส่วน ตั้งแต่การจัดเตรียมอาหารยุโรปชนิดต่างๆ การจัดทำเมนูอาหาร การจัดรูปแบบการนำเสนอ ฯลฯ เมื่อเข้าใจถึงภาคปฏิบัติทั้งหมดแล้ว น้องๆ ยังจะได้เรียนรู้ในส่วนของการบริหารจัดการด้านอาหาร และโภชนาการอีกด้วย ซึ่งจะสอนเกี่ยวกับทักษะ และกรรมวิธีในการประกอบอาหารอย่างถูกต้อง เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารในอุตสาหกรรมโรงแรมอย่างกว้างขวาง หลักโภชนาการ หลักการจัดเก็บควบคุมสโตร์ กรรมวิธีในการเตรียมก่อนปรุงอาหาร คำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในแผนกครัว โครงสร้างองค์กร เมนูพื้นฐาน เช่น เมนูอาหารประเภทเรียกน้ำย่อย สลัดประเภทต่างๆ ซุปประเภทต่างๆ เครื่องปรุงชนิดต่างๆ และการสาธิตการประกอบอาหารจานหลักชนิดต่างๆ ที่เป็นที่นิยม
ขึ้นอยู่กับขนาดของครัวและขนาดของโรงแรมซึ่งแตกต่างกัน กับขึ้นอยู่กับเครือข่ายโรงแรม
(Hotel chain) ที่บริหารโรงแรมแต่ละแห่งว่ามาจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือฮ่องกง ซึ่งนิยมใช้ไม่เหมือนกันอีกด้วย
โดยส่วนใหญ่นักศึกษาที่จบจากสถาบัน I-TIM ก็จะได้เริ่มงานในสายครัวในตำแหน่งผู้ช่วยกุ๊ก หรือ คอมมีเชฟ เนื่องจากมีประสบการณ์ทำงานในสายงานครัวมามากกว่านักศึกษาจากสถาบันด้านการโรงแรมอื่นๆ และเมื่อทำงานนานขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปตามลำดับชั้นของตำแหน่งในครัว
แผนกที่สองคือ
การบริการในภัตตาคาร (Restaurant Service)
ซึ่งในแผนกนี้จะรวมถึงแผนกการผสมเครื่องดื่มด้วยครับ เพราะแผนกในโรงแรม จะรวมกันเป็น Food & Beverage (อาหารและเครื่องดื่ม) ค่ะ
การบริการในภัตตาคาร (Restaurant Service)
ซึ่งในแผนกนี้จะรวมถึงแผนกการผสมเครื่องดื่มด้วยครับ เพราะแผนกในโรงแรม จะรวมกันเป็น Food & Beverage (อาหารและเครื่องดื่ม) ค่ะ
| ||||
|
นอกจากนี้ยังมีแผนกที่ในโรงแรมส่วนใหญ่จะแยกออกมาจากแผนกอาหารและเครื่องดื่ม
นั่นคือ แผนกจัดเลี้ยง (The Catering Department)
แม้ว่างานของแผนกจัดเลี้ยงจะเป็นเรื่องบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มเหมือนกับ แผนกอาหารและเครื่องดื่ม แต่ลักษณะของการทำงานมีส่วนแตกต่างกันอยู่ โดยแผนกอา หารและเครื่องดื่มจะดูแลห้องอาหารซึ่งเป็นการบริการแขกกลุ่มย่อยๆ ในขณะที่แผนกจัด เลี้ยงจะต้องเตรียมการและบริการคนครั้งละมากๆ จึงจำเป็นต้องให้การทำงานมีความคล่อง ตัว โรงแรมใหญ่ๆ โดยเฉพาะประเภทที่มีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่และหลายห้องส่วนใหญ่ จึงมักแยกแผนกจัดเลี้ยงออกเป็นอีกแผนกหนึ่งต่างหากจากแผนกอาหารและเครื่องดื่มใน งานสายนี้น้องๆ จะได้พบปะผู้คนใหม่ๆ อยู่เสมอ ได้พัฒนาทักษะทางภาษา ได้เรียนรู้ทัก ษะการให้บริการอย่างมืออาชีพ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และทักษะในการสร้างความประ ทับใจ สำหรับการเสริฟอาหารแต่ละมื้อให้กับแขกอย่างดีที่สุด นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึง วัฒนธรรมในการรับประทานอาหาร และความต้องการที่แตกต่างกัน ของแต่ละชนชาติอีก ด้วย
| ||
แผนกต้อนรับ หรือ สำนักงานส่วนหน้านั้นอาจเปรียบได้กับศูนย์รวมเส้นประสาท (nerve center) หรือศูนย์ประสานงานของโรงแรมทีเดียว และมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการติดต่อประสาน งานกับแผนกอื่นๆในโรงแรม ตัวอย่างเช่น ถ้าแขกมาบ่นหรือต่อว่า (หรือชมเชย) ที่แผนกต้อน รับ พนักงานต้อนรับจำเป็นต้องรีบส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยเร็วที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้ ในแผนกนี้สถาบัน I-TIM จะสอนให้เรียนรู้ขั้นตอน และระบบงานของงานฝ่ายต้อนรับ ส่วนหน้าเริ่มต้นจากกระบวนการรับจองห้องพัก จนถึงขั้นตอนวิธีการชำระเงินเมื่อแขกออก จากโรงแรม วิชานี้ยังครอบคลุมถึงส่วนประกอบต่างๆ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของการ บริหารจัดการงานส่วนหน้า ตลอดจนการวางแผน การบริหารงานบุคคล การประเมินผล การทำ งานเป็นทีม และหลักการบริหารจัดการงานทั้งระบบในธุรกิจโรงแรม |
การฝึกพนักงานต้อนรับ |
สำหรับงานในสายนี้ก็จะมีในส่วนของ1. ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager)
2. พนักงานต้อนรับ (Reception)
3. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone
Operator)2. พนักงานต้อนรับ (Reception)
3. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone
4. เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk)
5. พนักงานแคชเชียร์ (Cashier)
บุคลากรที่ทำงานในส่วนนี้ ยังต้องสามารถให้ข้อมูล
ทั่วๆ ไปเกี่ยวกับโรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยว หรือสิ่งอำนวย
ความสะดวกใกล้เคียงแก่แขกได้อีกด้วย หรือทำหน้าที่เป็น
guest relation serviceเช่นให้ข้อมูลข่าวสารอื่นๆ การนำเสนอ
ห้องพักให้แขก นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรอง
กับแขกเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้กับโรงแรม ต้องเรียนรู้
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า งานในส่วนนี้จะสนุก และท้าทาย
ที่ได้เจอกับสถานการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ได้พบกับคนหลาย
รูปแบบ และยังได้รับความรู้ในด้านการบริหารจัดการ และยัง
มีความโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาทักษะทางภาษาอีกด้วย
แผนกแม่บ้าน (Housekeeping) ในส่วนนี้ จะสอนเกี่ยวกับภาคปฏิบัติการในห้องพักแขก ซึ่งสถาบัน I-TIM จะมีห้องจำ ลองของโรงแรมระดับ 5 ดาวให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ห้องซักรีดและพื้นที่สาธารณะในโรงแรม น้องๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเตียง การปูเตียง การดูแลรักษาพรม ห้องน้ำ ขั้นตอนในการ ตรวจเช็คห้องพักแขก และการบริการในส่วนของพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังจะได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการดูแลรักษาพื้นผิวประเภทต่างๆ การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และการใช้ เครื่องมือประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี ตลอดจนการทำความสะอาดพื้นที่นอกตัวอาคารนอก จากนี้ ยังจะได้เพิ่มพูนประสบการณ์ จากการซักรีดชุดปฏิบัติการของแผนกครัวและส่วนบริการ ภัตตาคาร ตลอดจนถึงศิลปะในการจัดดอกไม้ อีกด้วย
| ||||||
จะมีกรรมอยู่สักหน่อย ตรงที่แขกมักจะคิดว่าการที่พักห้องสะอาดทางเดินและบริเวณใช้ร่วม ต่างๆในโรงแรมสะอาด ตลอดจนผ้าปูที่นอน / ปลอกหมอนสะอาดเป็นของธรรมดา คือไม่ ค่อยได้สังเกตหรือชมเชย แต่ถ้าเกิดความไม่สะอาดขึ้นมาเมื่อใด แขกจะสังเกตเห็นทันที และจะตำหนิหรือต่อว่าเช่น ห้องพักไม่สะอาด ผ้าปูที่นอนไม่ได้เปลี่ยน หรือห้องน้ำสกปรก เป็นต้น และถึงแม้ว่างานของแผนกแม่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นงานหลังฉาก การติดต่อกับแขก ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่นแขกมาถามว่าที่โรงแรมมีอาหารเจขายหรือไม่ ตอน แรกน้องๆ อาจจะคิดว่า “มาถามคำถามที่ไม่เห็นเกี่ยวกับงานแม่บ้านซักหน่อย” แต่ ในฐานะพนักงานคนหนึ่งจึงควรจะรู้เรื่องเกี่ยวกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ โรงแรมจัดไว้ให้แขกมากพอที่จะตอบคำถามพื้นๆ ของแขกได้ซึ่งในทางหนึ่งก็เป็นการให้ ความช่วยเหลือแก่แขกด้วย |
ในส่วน
ของภาคการปฏิบัติงานแบบสวิสเซอร์แลนด์ และภาคบริหารจัดการแบบอเมริกันในทุกๆ ส่วน
อีกด้วย
นอกจากนั้นก็จะเป็นวิชาอื่นๆ เกี่ยวกับการโรงแรมและการท่องเที่ยวที่น้องๆ จะได้เรียน
ค่ะเช่น
ด้านการจัดการ ด้านการท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของการปฏิบัติการและการจัดการในองค์กร
ด้านการขนส่ง ด้านการบัญชี การตลาดและการขาย ด้านจิตวิทยาที่ใช้กับงานโรงแรม โปร
แกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับงานโรงแรมและสายการบิน โดยจะมีเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับด้าน
การโรงแรม และการท่องเที่ยวล้วนๆ ค่ะ
ซึ่งในการเรียนในมหาวิทยาลัยปกติ อาจจะไม่ได้เรียนภาคปฏิบัติอย่างละเอียด
ในหลายๆ วิชาที่กล่าวมาข้างต้นนะค่ะ แต่ก็จะได้เรียนภาคทฤษฎี ในรายวิชาและแผนก
ใกล้เคียงกับที่กล่าวมานี้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ดีนะค่ะ เพียง
แต่มีแนวความคิดในเรื่องของแนวทางการศึกษาต่างกันเท่านั้น
นอกจากนี้จะเป็นอีกส่วนของการเรียนการสอนที่แตกต่างกับที่อื่น และสำคัญมากๆ
ของสถาบัน I-TIM นั่นก็คือการฝึกงาน ซึ่งโดยปกติ การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย
จะมีการฝึกงานประมาณ 2-3 เดือน ในช่วงก่อนขึ้นปีที่ 4 หรือก่อนที่นักศึกษาจะจบ แต่ในส
ถาบัน I-TIM จะใช้หลักสูตรการโรงแรมแบบสวิส-อเมริกัน ซึ่งการเรียนด้านการโรงแรมและ
การท่องเที่ยวในต่างประเทศ จะมีระยะเวลาการฝึกงานที่ยาวนานกว่าในประเทศไทยมาก
ในแต่ละปีจะฝึกงานอย่างต่ำเป็นเวลา 5 เดือน โดยน้องๆ สามารถเลือกฝึกงานได้
ในแผนกที่มีความถนัด และสนใจ ในโรงแรมระดับ 5 ดาว บริษัทนำเที่ยว หรือสาย
การบิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ 2 นักศึกษาของสถาบัน I-TIM มีโอกาสฝึกงานในต่างประ
เทศได้ เป็นระยะเวลา 5เดือน-1 ปี ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับน้องๆ ที่สนใจศึกษา
ต่อทางด้านนี้ เพราะนอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่ดีในระดับมาตรฐานสากลแล้ว ยังได้รับ
ค่าตอบแทนที่สูงในระหว่างฝึกงานอีกด้วยค่ะ
ซึ่งนักศึกษาจากสถาบัน I-TIM มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง เพราะได้เปรียบใน
เรื่องของภาษา และประสบการณ์ทำงาน ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยที่สำคัญ ในการคัดเลือกพนัก
งานเข้าทำงานของงานสายการโรงแรม และการท่องเที่ยวหากน้องๆ มีคำถามเกี่ยวกับ
การเรียนทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ในกระทู้
หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สถาบัน I-TIM
0-2732-0170-3 กด 0 Hotline : 08-555-111-85 http://www.i-tim.ac.th/
e-mail : info@i-tim.ac.th
ยินดีตอบทุกคำถามครับ
การโรงแรมและการท่องเที่ยว
ก้าวสู่สาขาอาชีพการโรงแรมและการท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดธุรกิจ ท่องเที่ยวและโรงแรม ธุรกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทย | ||||||||
ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเมือง โรคระบาดจะสร้างวิกฤติให้กับประเทศไทยอย่างไร ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวก็ยังเป็นพระเอกที่พึ่งพา ได้เสมอเพราะฉะนั้นตลาดแรงงานในสายงานธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงเป็นพื้นที่เปิดกว้างสำหรับแรงงานมาอย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถด้านภาษา จึงมีสถาบันต่างๆ เปิดทำการเรียนการสอนในศาสตร์ด้านนี้เพื่อสนองตอบตลาด แรงงาน หลายที่ด้วยกัน
ปริญญาตรี ทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว (Bachelor of Arts Program in Tourism and Hotel) เป็นหนึ่งใน สาขาที่ติดอันดับยอดนิยม และมีทีท่าสดใสยาวไกลไปไนอนาคต เพราะเมืองไทยเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับ โลก การผลิตกำลังคนที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในทางด้านการจัดการในธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว จึงช่วยให้ ประเทศเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวกับประเทศอื่นๆ ก่อให้เกิดการสร้างงานในประเทศ และยังเป็นการ รักษามรดกทางการท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืนอีกด้วย การเรียนการสอนในสาขานี้ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้ง โรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจขนส่ง ภัตตา คารร้านอาหาร หลักสูตรจะเน้นสร้างบุคลากรให้มีความรู้และทักษะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว สอนทั้งการบริหารจัดการ ธุรกิจท่องเที่ยว ตลอดจนพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษา เกาหลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีนกลาง จนเกิดความชำนาญ ทั้งทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน และเพื่อให้สามารถจบออกไปแล้วสามารถทำงานได้จริง จึงมีการสอนและสอบด้วยการปฏิบัติจริงควบคู่ไปกับการ เรียนวิชาด้านบริหารจัดการ ในการให้ประสบการณ์ภายนอกห้องเรียนให้แก่นักศึกษา จะเป็นการให้นักศึกษาได้ฝึกงาน ทั้งในและนอกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น จัดทัวร์ ดูแลห้องพัก จัดห้องจัดเลี้ยง ทำ coaktail จัดงานตามสถานที่ต่างๆ ตามสถานประกอบการจริง เช่น โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง สปา ห้องอาหาร หรือบางสถาบันก็มี สถานที่ของตนเองที่เปิดขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนกาสอนไปด้วย
ตัวอย่างการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้มีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สาขาอาหารและเครื่องดื่ม ที่จะเน้นในแผนกครัวการบริการในภัตตาคาร และการผสมเครื่องดื่ม หากเป็นสาขาการจัดการห้องพัก ก็จะเน้นการเรียนการสอนในงานบริการ ส่วนหน้า (Front Office) และงานแม่บ้าน การเรียนวิชาต่างๆ ทั้งวิชาที่ต้องเรียนเป็นพื้นฐานในทุกสาขา หรือวิชาเอกและวิชา เลือกที่น่าสนใจของสาขานี้ ก็เช่น การจัดการองค์การ (Organizational Management) เป็นการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี หลักการ เทคนิคการบริหารโครง การและเทคนิคการบริหารบุคคล ในองค์กร เพื่อให้เกิดการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย เศรษฐศาสตร์ทั่วไป (General Economics) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เช่น บทบาทของรัฐบาล ทฤษฎีการ ผลิต พฤติกรรมผู้บริโภค อุปสงค์ อุปทาน ปัจจัยการผลิต การตลาด ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่าง ประเทศ ตลอดจนสภาพและปัญหาทางเศรษฐกิจ การบัญชีการเงินสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว (Financial Accounting for Tourism) ให้ความรู้เกี่ยวกับงานทางบัญชี และความ รับผิดชอบของนักบัญชี ทั้ง การบันทึกบัญชี การจัดทำงาบทดลอง การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การจัดทำงบทด ลอง การปรับปรุงรายการ การทำงบกระแสเงินสด ฯลฯ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Industry) ทราบถึงทรัพยากรการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยว ลักษณะและองค์ประกอบ ของธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หลักการของมัคคุเทศก์ (Principles of the Tour Guide) กล่าวถึงหลักการมัคคุเทศก์ กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการปฏิบัติงานและเทคนิคในการนำเที่ยว การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การฝึกปฏิบัติเป็นมัคคุเทศก์ พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Tourist Behavior and Cross-cultural Communication) เข้าใจ ในวัฒนธรรม และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุประสงค์ทางการเดินทางเพื่อ ท่องเที่ยว รสนิยม กระบวนการการตัดสินใจเพื่อเลือกสินค้าและบริการการท่องเที่ยว แนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในอนา คต ตลอดจนการรับมือกับปัญหาของนักท่องเที่ยวในสถานการณ์ต่างๆ ศิลปะการต้อนรับและจิตวิทยาบริการ (Hospitality Arts and Psychology for Service Industry) เพื่อให้เข้าใจถึง พื้น ฐานทางจิตวิทยาด้านแรงจูงใจ ลักษณะพฤติกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้รับบริการ และมีทักษะในการต้อนรับนัก ท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของลูกค้าที่เข้ามารับบริการ กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยว (Tourism Marketing Strategy) ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ โครงสร้างและประเภทของ ธุรกิจ รวมทั้งปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมโรงแรมเบื้องต้น (Introduction to the Hotel Industry) กล่าวถึงประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของ อุตสาหกรรมโรงแรม และแนวโน้มของธุรกิจอุตสาหกรรมโรงแรมในอนาคต การจัดการธุรกิจเรือสำราญ (Cruising Management) ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ของเรือสำราญและธุรกิจที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานบริการ การวางแผนการตลาด การจัดกิจกรรมนันทนาการบนเรือ การบริหารบุคลากร มรดกไทยเพื่อการท่องเที่ยว (Thai Heritage for Tourism) สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและมรดกทาง ศิลปกรรมของไทย รวมถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อมรดกไทย กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Law and Ethics Related to Tourism Industry) เพื่อให้ทราบ ถึงกฎหมาย ตลอดจนจริยธรรมที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งวิชาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การจัดการการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการบริการสนับสนุนการประชุม (Incentive Travel Management and Meeting Incentive Convention Exhibition Support Services การจัดการกิจกรรมพิเศษ (Special Event Management) การตลาดและเทคนิคการขายสำหรับธุรกิจการประชุม นิทรรศการ และงานแสดงสินค้า (Marketing and Selling Techniques for Meeting Incentive Convention Exhibition Support Services) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) การบริหารธุรกิจสปา (Spa Management) การบริการในสปา (Spa Service) ผู้นำเกมและกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว (Game Leader and Recreation Activity for Tourism) การพัฒนาบุคลิกภาพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Personality Development in Tourism Industry) การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวและนันทนาการ (Entrepreneurship in Tourism and Recreation Business) แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและธรรมชาติ (Historical Cultural and Natural Tourism Attractions) การจัดการทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมการโรงแรม (Personnel Management in the Hotel Industry) การตลาดการท่องเที่ยวและการโรงแรม (Tourism and Hotel Marketing) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม(Cultural Tourism) การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว (Tourism Planning and Development) การจัดการธุรกิจนำเที่ยว (Tour Management) ธุรกิจการจัดการประชุม การจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดแสดงสินค้า(Meeting Incentive convention and Exhibition Business) การจัดการที่พักแรม (Accommodation Management) การจัดการงานบริการส่วนหน้า(Front Office Management) หลักการขนส่งและธุรกิจการบิน (Principles of Transportation and Airline Busines) การเขียนภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม (English Writing for Tourism and Hotel Business) การสนทนาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม (English Conversation for Tourism and Hotel) การจัดการงานส่วนแม่บ้าน (Housekeeping Management) การบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Service) พฤติกรรมนักท่องเที่ยว(Tourist Behavior) การจัดการผลกระทบจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Impacts Management ) ระบบการจำหน่ายบัตรโดยสารและการสำรองที่นั่งของสายการบิน(Airline Ticketing and Reservation Systems ) สหกิจศึกษา (Cooperation Education) ภาษาต่างประเทศต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส (French), ภาษาเยอรมัน (German), ภาษาสเปน (Spanish), ภาษาญี่ปุ่น (Japanese), ภาษาจีน (Chinese), ภาษาเวียดนาม (Basic Vietnamese), ภาษาเกาหลี (Korean), ภาษาลาว (Lao), ภาษาเขมร (Khmer) ก้าวสู่อาชีพในฝัน การเรียนในศาสตร์ด้านนี้ ไม่ต้องกลัวว่าจะหางานยากเย็น สามารถทำงานด้านต่างๆเช่น นักประชา สัมพันธ์ (Public Relations Officer), เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Service Officer), พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant), ผู้จัดการโรงแรม (Hotel Manager), อาจารย์ (Teacher), ตัวแทนบริษัทนำเที่ยว (Travel Agent), เจ้าหน้าที่สถานทูต (Embassy Staff),ล่าม ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ผู้ให้บริการด้านโรงแรม พนักงานตามสถานบริการ ต่าง ๆ ในหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการโรงแรมและท่องเที่ยว ก็เช่น ในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านการโรงแรม / ท่องเที่ยว ข้อมูลจาก www.thaihotelstaff.com สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 14 แห่ง 1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ 2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยว / คณะมนุษย์ศาสตร์ 3. มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาสังคมศาสตร์ / คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4. มหาวิทยาลัยบูรพา ภาควิชาบริหารธุรกิจ / คณะมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 5. มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาลัยนานาชาติ) สาขาบริหารธุรกิจ / คณะศิลปศาสตร์ 6. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคอุตสาหกรรมบริการ เอกการโรงแรม / คณะบริหารธุรกิจ 7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต สาขาการจัดการโรงแรมคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว 8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาประวัติศาสตร์ / คณะสังคมศาสตร์ 9. มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ / คณะโบราณคดี 10. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช แขนงวิชาคหกรรมศาสตร์ธุรกิจ วิชาเอกการโรงแรม และภัตตาคาร / สาขาคหกรรมศาสตร์ 11. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว / คณะศิลปศาสตร์ 12. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาศิลปาชีพ / คณะมนุษย์ศาสตร์ 13. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สาขาการจัดการทางการท่องเที่ยว / สำนักวิชาการจัดการ 14. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สาขาธุรกิจบริการ / โครงการจัดตั้งคณะบริหารศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 13 แห่ง 1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม / คณะมนุษย์ศาสตร์ 2. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว / คณะศิลปาศาสตร์ 3. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สาขาวิชาการท่องเที่ยว / คณะศิลปศาสตร์ 4. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม / คณะมนุษยศาสตร์ 5. มหาวิทยาลัยรังสิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว / คณะอุตสาหกรรมการบริการ 6. มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล สาขาการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว / คณะบริการธุรกิจ 7. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม / คณะศิลปศาสตร์ 8. มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว / คณะศิลปศาสตร์ 9. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว / คณะบริหารธุรกิจ 10. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สาขาวิชาการโรงแรม / คณะบริหารธุรกิจ 11. วิทยาลัยโยนก สาขาวิชาการท่องเที่ยว / คณะศิลปศาสตร์ 12. มหาวิทยาลัยพายัพ ภาค วิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ของมหาวิทยาลัยพายัพ ทั้งหลักสูตร ไทย และหลักสูตรนานาชาติ สังกัดคณะบริหารธุรกิจ มอบปริญญา บธ.บ. (การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว) 13. วิทยาลัยดุสิตธานี สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว / คณะบริหารธุรกิจ สถาบันราชภัฎ 34 แห่ง 1. สถาบันราชภัฎเชียงราย โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 2. สถาบันราชภัฎเชียงใหม่ โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 3. สถาบันราชภัฎกำแพงเพชร โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 4. สถาบันราชภัฎอุดรธานี โปรแกรมวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5. สถาบันราชภัฎอุบลธราชธานี โปรแกรมวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6. สถาบันราชภัฎลำปาง โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 7. สถาบันราชภัฎนครสวรรค์ โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 8. สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม (พิษณุโลก) โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 9. สถาบันราชภัฎมหาสารคาม โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 10. สถาบันราชภัฎนครราชสีมา โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 11. สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 12. สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 13. สถาบันราชภัฎราชนครินทร์ (ฉะเชิงเทรา) โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 14. สถาบันราชภัฎเทพสตรี (ลพบุรี) คณะวิทยาการจัดการ 15. สถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา โปรแกรมวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 16. สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี (จันทบุรี) โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 17. สถาบันราชภัฎกาญจนบุรี โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 18. สถาบันราชภัฎนครปฐม โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 19. สถาบันราชภัฎภูเก็ต โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิชาการจัดการ 20. สถาบันราชภัฎสุราษฎร์ธานี โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 21. สถาบันราชภัฎจันทรเกษม โปรแกรมวิชาธุรกิจการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม / คณะวิทยาการจัดการ 22. สถาบันราชภัฎธนบุรี โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 23. สถาบันราชภัฎสวนดุสิต โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 24. สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา สาขาศิลปศาสตร์ โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 25. สถาบันราชภัฎเพชรบุรี โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 26. สถาบันราชภัฎเพชรบูรณ์ โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 27. สถาบันราชภัฎเลย โปรแกรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม / คณะวิทยาการจัดการ 28. สถาบันราชภัฎสกลนคร โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และ 29. สถาบันราชภัฎสงขลา สาขาการท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 30. สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 31. สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์ โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ 32. สถาบันราชภัฎพระนคร โปรแกรมวิชาภาษอังกฤษธุรกิจ / คณะมนุษยศาสตร์ 33. สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว / คณะวิทยาการจัดการ 34. สถาบันราชภัฎสุรินทร์ โปรแกรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม / คณะวิทยาการจัดการ สถาบันเทคโนโลยี ราชมงคล 8 แห่ง 1. วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ แผนกวิชาการท่องเที่ยว / คณะวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2. วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ สาขาวิชาการท่องเที่ยว / คณะบริหารธุรกิจ 3. วิทยาเขตภาคพายัพ แผนกวิชาการท่องเที่ยว 4. วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี สาขาวิชาการท่องเที่ยว 5. วิทยาเขตวังไกลกังวล แผนกวิชาการท่องเที่ยว 6. วิทยาเขตภาคใต้สงขลา แผนกวิชาการท่องเที่ยว / คณะวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 7. วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ สาขาวิชาการท่องเที่ยว 8. วิทยาเขตพณิชยการพระนคร แผนกวิชาการโรงแรม หลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี 2 แห่ง
1. มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาลัยนานาชาติ) สาขาบริหารธุรกิจ / คณะศิลปศาสตร์2. มหาวิทยาลัยสยาม ภาควิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว / คณะศิลปศาสตร์ ระดับ ปวช. / ปวส. วิทยาลัยอาชีวศึกษา 19 แห่ง 1. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2. วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 3. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 4. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 5. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 6. วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 7. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 8. วิทยาลัยอาชีวศึกษากาญจนบุรี ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 9. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 10. วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 11. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 12. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎาร์ธานี ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 14. วิทยาลัยอาชีวศึกษาอินทราชัย ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 15. วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 16. วิทยาลัยพาณิชยการบึงพระ (พิษณุโลก) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 17. วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวกรุงเทพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขา การจัดการธุรกิจ ท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรมและการบริการ 18. วิทยาลัยบริหารฑธุรกิจและ การท่องเที่ยวอุดรธานี ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขา การจัดการธุรกิจท่อง เที่ยว และ สาขาวิชาการโรงแรมและการบริการ 19. วิทยาลัยบริหารธุรกิจและ การท่องเที่ยวนครราชสีมา ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขา การจัดการธุรกิจ ท่องเที่ยว และ สาขาวิชาการโรงแรมและการบริการ วิทยาลัยพลศึกษา 9 แห่ง 1. วิทยาลัยพลศึกษากระบี่ โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 2. วิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 3. วิทยาลัยพลศึกษาลำปาง โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 4. วิทยาลัยพลศึกษาสุโขทัย โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 5. วิทยาลัยพลศึกษาเพชรบูรณ์ โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 6. วิทยาลัยพลศึกษามหาสารคาม โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 7. วิทยาลัยพลศึกษาอุดรธานี โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 8. วิทยาลัยพลศึกษายะลา โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม 9. วิทยาลัยพลศึกษาชุมพร โปรแกรมวิชาธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยเทคนิค 9 แห่ง 1. วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2. วิทยาลัยเทคนิคชุมพร ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 3. วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 4. วิทยาลัยเทคนิคตรัง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 5. วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 6. วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 7. วิทยาลัยเทคนิคสตูล ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 8. วิทยาลัยเทคนิคระยอง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 9. วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สถาบันการศึกษาเอกชน 1. โรงเรียนเทคนิควิมลบริหารธุรกิจ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาการโรงแรม 2. โรงเรียนภูเก็ตเทคโนโลยี ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาการโรงแรม หลักสูตรระยะสั้น
1. โรงเรียนบริหารการโรงแรมนานาชาติ IHI หลักสูตรบริหารการโรงแรมนานาชาติ 2. โรงเรียนการจัดการโรงแรม |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)